เมื่อเกิดลิฟต์ขัดข้อง

เครื่องมือที่ต้องนำไปด้วยเมื่อเกิดลิฟต์ขัดข้อง

พนักงานธุรการช่างซ่อมบำรุง
–   วิทยุสื่อสาร  1  เครื่อง
เจ้าหน้าที่ช่างซ่อมบำรุง
1.  กุญแจตัว T
2.  เหล็กแบน
3.  ประแจ เบอร์ 10
4.  กุญแจห้องเครื่อง
5.  วิทยุสื่อสาร  1  เครื่อง
พนักงานรักษาความปลอดภัย
–  วิทยุสื่อสาร  1  เครื่อง

วิธีปฏิบัติ
กรณีเกิดลิฟต์อาคาร 2 ทั้งหมด และ ลิฟต์อาคารจอดรถ 1  เกิดความบกพร่อง
1.   เมื่อเกิดลิฟต์บกพร่อง ผู้โดยสารที่ติดค้างอยู่ในลิฟต์กดปุ่ม Alarm ซึ่งอยู่ในลิฟต์ จะเกิดสัญญาณเสียงโทรศัพท์ลิฟต์ดังขึ้น
ที่หน่วยช่างซ่อมบำรุง
2.   เจ้าหน้าที่ธุรการซ่อมบำรุง เมื่อได้รับการแจ้งเหตุ และสอบถามรายละเอียดของจุดที่ลิฟต์ขัดข้อง  โดยมีรายละเอียดดังนี้
–  หมายเลขลิฟต์
–   ชั้นที่เกิดเหตุขัดข้อง
–   เกิดเหตุขัดข้องอย่างไร
–   จำนวนคนที่อยู่ภายในลิฟต์
3.   เจ้าหน้าที่ธุรการซ่อมบำรุง  ทำการแจ้งช่างซ่อมบำรุง 2 คน ให้ไปยังจุดเกิดเหตุภายใน 5 นาที
4.   เจ้าหน้าที่ช่างซ่อมบำรุง เมื่อไปที่เกิดเหตุ  ตรวจสอบว่าลิฟต์ขัดข้องที่ชั้นใด และแจ้ง ไปยังเจ้าหน้าที่ ธุรการซ่อมบำรุง
(โดยวิทยุสื่อสาร)  ทันที
5.   เจ้าหน้าที่ธุรการซ่อมบำรุง เมื่อทราบว่าลิฟต์ขัดข้องที่ชั้นใด ให้แจ้งรายละเอียดในข้อ 2 กับ เจ้าหน้าที่หน่วยรักษาความปลอดภัย ,
พยาบาลห้องฉุกเฉิน และ ฝ่ายการพยาบาล ( นอกเวลาการทำการให้แจ้งผู้ตรวจการพยาบาลแทน ) ภายใน 1 นาที  หลังจากนั้น
รายงานเหตุการณ์ให้ผู้บังคับบัญชาตามสายงานรับทราบ  และกรณีในเวลาทำการให้รายงานผู้จัดการหน่วยบริหารความเสี่ยงทันที
6.   พนักงานหน่วยรักษาความปลอดภัย  1  คน และพยาบาลห้องฉุกเฉิน 1 คน และ ฝ่ายการพยาบาล  ( นอกเวลาการทำการ
ผู้ตรวจการพยาบาลแทน )  1  คน  เดินทางไปยังลิฟต์ที่ขัดข้อง หลังจากได้รับการแจ้งจากธุรการซ่อมบำรุง  ภายใน  5  นาที
พร้อมทั้งทำการช่วยเหลือผู้ติดค้างอยู่ภายในลิฟต์  และวิเคราะห์สาเหตุ
7.   ช่างซ่อมบำรุงใช้กุญแจตัว T  เปิดประตูลิฟต์ตัวที่ค้าง ถ้าประตูเปิดออก และสามารถเคลื่อนย้าย  ผู้โดยสารได้ ให้ทำการ
เคลื่อนย้ายผู้โดยสารได้ แต่ถ้าประตูไม่เปิดให้ปฏิบัติตามข้อ 9
8.   ถ้าประตูเปิดออกแล้ว  ไม่สามารถเคลื่อนย้ายผู้โดยสารได้   เนื่องจากลิฟต์อยู่ไม่ตรงชั้น  ให้ผู้ทำการแก้ไขขึ้นไปยังห้องเครื่องลิฟต์
ซึ่งอยู่บนสุดของอาคาร  ประมาณ 3 คน   โดยนำวิทยุสื่อสารไปด้วย  1  เครื่อง  (วิทยุอีก 1  เครื่องจะอยู่ที่พยาบาลฉุกเฉิน
ซึ่งอยู่หน้าลิฟต์ที่ขัดข้อง)
9.   ทำการรีเซ็ทระบบโดยการ on / off ถ้าประตูยังไม่เปิด ให้ปิดเบรคเกอร์ควบคุมลิฟต์ตัวที่ค้าง แล้วใช้ประแจเบอร์ 10 ขันน๊อต
ฝาครอบเบรคออก แล้วใช้เหล็กปล่อยเบรคสอดเข้าที่ช่องสำหรับกดเบรค แล้วออกแรงกดทีละนิดๆ โดยกดปล่อย กดปล่อย จนกว่า
ขีดขาวของสลิงลิฟต์เลื่อนมาตรงกับแท่นลิฟต์   + 1 ฟุต แล้วใช้วิทยุสื่อสารสอบถามพยาบาลซึ่งอยู่หน้าลิฟต์ว่าประตูเปิดหรือไม่
ถ้าเปิดให้เคลื่อนย้ายผู้โดยสารออกได้และปฏิบัติตามข้อ 10
10. ถ้ากดเบรกแล้วสลิงลิฟต์ยังไม่เลื่อน ให้ผู้ช่วยอีกคนใช้เหล็กหมุนเทคโคพร้อมกับปลดเบรด ทีละนิดๆ โดยกดปล่อย กดปล่อย
ผู้ที่หมุนเทคโคควรที่จะหมุนไปทางที่น้ำหนักเบาที่สุด เพื่อจะได้ออกแรงน้อย หมุนไปจนกว่าขีดขาวของสลิงลิฟต์เลื่อนมาตรงกับ
แท่นลิฟต์  + 1  ฟุต แล้วใช้วิทยุสื่อสารสอบถามพยาบาลซึ่งอยู่หน้าลิฟต์ว่าประตูเปิดหรือไม่  ถ้าเปิดให้เคลื่อนย้ายผู้โดยสารออกได้
และปฏิบัติตามข้อ 10
11.  ถ้าใช้กุญแจลิฟต์ตัว T เปิดประตูลิฟต์แล้วไม่ออก ให้ผู้ทำการแก้ไขขึ้นไปยังชั้นถัดไป  2  คน  พร้อมวิทยุสื่อสาร  1 เครื่องและ
ใช้กุญแจ ลิฟต์ตัว T เปิดประตูลิฟต์ตัวที่ค้างออก โดยใช้ผู้ช่วยอีกคนดันประตูค้างไว้ไม่ให้ปิด 1  ผู้ทำการแก้ไขปีนลงไปยังหลังคาลิฟต์
แล้วปิดสวิทต์ RUNและสวิทต์ DOOR มายังตำแหน่ง OFF แล้วผลักบานประตู ให้เปิดออกแล้วให้ผู้โดยสารออกจากลิฟต์
12.  พยาบาลห้องฉุกเฉิน ประเมินสภาพร่างกายและจิตใจผู้ที่ติดค้างอยู่ภายในลิฟต์ และทำการช่วยเหลือต่อไปตามหลักการพยาบาล
13.  เจ้าหน้าที่ช่างซ่อมบำรุง ติดป้ายภายในและภายนอกลิฟต์ที่ชั้น1 ว่า “ขณะนี้ลิฟต์อยู่ระหว่างการซ่อมบำรุง ขอความกรุณาใช้ลิฟต์
No. อื่น ”พร้อมทั้งทำการล็อกลิฟต์ที่ขัดข้องดังกล่าว
14.  เจ้าหน้าที่ธุรการซ่อมบำรุงแจ้งเหตุลิฟต์ขัดข้องไปยังบริษัทคู่สัญญาในการดูแลลิฟต์ เพื่อทำการแก้ไข ลิฟต์ ให้สามารถกลับมา
ทำงานตามปกติ
15.  โดยเจ้าหน้าที่บริษัทคู่สัญญาดังกล่าว ที่เข้ามาทำการซ่อมบำรุง ต้องผ่านการแลกบัตรและลงบันทึกประวัติจากหน่วย
รักษาความปลอดภัย ก่อนเข้าทำงานทุกครั้ง
16.  บริษัทคู่สัญญาทำการส่งรายงานการซ่อมให้แผนกช่างซ่อมบำรุง
17.  เจ้าหน้าที่ธุรการซ่อมบำรุง นำผลรายงานการซ่อมดังกล่าว ลงบันทึกในแฟ้มประวัติลิฟต์ No. ที่ขัดข้อง
18.  เจ้าหน้าที่ธุรการซ่อมบำรุงทำการเขียนใน Incident ส่งผู้จัดการหน่วยบริหารความเสี่ยงภายใน 24 ชั่วโมง
19.  เจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุง ทำการซ้อมเหตุการณ์สมมุติเมื่อลิฟต์ขัดข้อง ปีละ 2 ครั้ง และรายงานผลการฝึกซ้อมให้คณะกรรมการ
บริหารความเสี่ยงทราบ
กรณีเกิดลิฟต์เกิดความบกพร่อ
1.      เมื่อเกิดลิฟต์บกพร่อง ผู้โดยสารที่ติดค้างอยู่ในลิฟต์กดปุ่ม Alarm ซึ่งอยู่ในลิฟต์ จะเกิดสัญญาณเสียงโทรศัพท์ลิฟต์ดังขึ้น ที่ห้อง
พนักงาน Operator
2.      เจ้าหน้าที่ Operator ทำการรับโทรศัพท์ พร้องทั้งสอบถามรายละเอียดของจุดที่ลิฟต์ขัดข้อง  โดยมีรายละเอียดดังนี้
–          หมายเลขลิฟต์
–          ชั้นที่เกิดเหตุขัดข้อง
–          เกิดเหตุขัดข้องอย่างไร
–          จำนวนคนที่อยู่ภายในลิฟต์
3.      เจ้าหน้าที่ Operator ทำการแจ้งรายละเอียดทั้งหมด    แก่เจ้าหน้าที่ธุรการซ่อมบำรุงทันที
4.      ปฏิบัติตามข้อ 3 – 18  กรณีเกิดลิฟต์อาคาร 2 ทั้งหมด และ ลิฟต์อาคารจอดรถ 1  เกิดความบกพร่อง

580673_397561526995211_2116956591_n

อ้างอิง:

http://www.adherolift.com/liftproblemsloving.html

ใส่ความเห็น

ใส่ความเห็น